ทำสมาธิทำไม?


“ธรรมะมีอยู่ในตัวเรา แต่เราหาไม่เจอ เพราะว่าโดนกิเลสเครื่องเศร้าหมองบดบังอยู่

ดังนั้นถ้าหากจะเห็นธรรมะในตัวเรา เราจะต้องอาศัย “พลังจิต”เป็นตัวเปิดประตูสู่ธรรมะในตัวเรา”

-พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร-


หลายท่านคงจะทราบแล้วว่า “มรรค 8” คือ หนทางสู่ความดับทุกข์ ซึ่ง “สัมมาสมาธิ” (สมาธิที่ถูกต้อง) เป็นมรรคข้อสุดท้าย หากแต่ว่าความสำคัญของ “สัมมาสมาธิ” ก็มิได้น้อยไปกว่ามรรคข้ออื่นแต่อย่างไร หากพิจารณากันให้ดี จะเห็นได้ว่า “สัมมาสมาธิ” เป็นข้อสำคัญและเป็นพื้นฐาน ช่วยให้

การบริกรรม

บุคคลผู้ปฏิบัติสมาธิประสบความสำเร็จในมรรคข้ออื่นๆ ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติสมาธิค้นพบหนทางดับทุกข์ และพบความสุขที่แท้จริงในที่สุด 

พระพรหมมงคลญาน-พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร ผู้ก่อตั้งสถาบันพลังจิตตานุภาพ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการทำสมาธิเแก่บุคคลทั่วไป โดยท่านได้ย้ำว่า จุดประสงค์ของการทำสมาธิที่แท้จริง คือ “การสะสมพลังจิต”

“พลังจิต” คือ พละกำลังของจิต หรือ ความแข็งแกร่งของจิตใจ พลังจิตมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เราทุกคน  บุคคลต้องมีพลังจิตจึงจะทำงานสำเร็จลุล่วง  โดยปรกติคนเรามีพลังจิต

“การบริกรรม ทำให้จิตเป็นหนึ่ง
จิตเป็นหนึ่ง ทำให้เกิดความสงบ
ความสงบ ทำให้จิตมีพลัง
จิตมีพลัง ทำให้มีสติระลึกรู้
มีสติระลึกรู้ ทำให้เกิดสติปัญญา
มีสติปัญญา ทำให้รู้ทันอารมณ์
การรู้ทันอารมณ์ ทำให้จิตเป็นกลางได้”

-พระธรรมมงคลญาณ
(พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร)
นั่งสมาธิ

 

ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอยู่แล้ว แต่หากมีการฝึกทำสมาธิขึ้น ก็จะเป็นการช่วยเสริมเพิ่มพลังจิตให้กับตนเอง บุคคลยิ่งมีพลังจิตมากขึ้น มีสมาธิมากขึ้น ก็จะทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น หากเราขาดพลังจิตหรือมีสมาธิสั้น  การทำงานหรือการเรียนก็จะไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร และหากขาดพลังจิตมากเกินไป  ก็อาจจะมีปัญหากระทบระบบประสาทและสมองได้

ในโลกปัจจุบันเราเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการออกกำลังกาย ว่าออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ไร้โรคภัยไข้เจ็บ  การทำสมาธิ ก็เฉกเช่นเดียวกัน เปรียบเสมือนการออกกำลังใจ เมื่อทำสมาธิมากขึ้น โดยอาศัยคำบริกรรม จิตจะเกิดความเพ่ง อารมณ์เครื่องเศร้าหมองต่างๆในจิตใจจะหายไป ความสงบนิ่งจะตามมา จิตรวมเป็นหนึ่ง สมาธิจะเกิด ในที่สุดพลังจิตจะก่อตัวสะสมขึ้น ตามจุดมุ่งหมายของผู้ปฏิบัติสมาธิ ยิ่งปฏิบัติสมาธิเป็นประจำสม่ำเสมอ พลังจิตจะยิ่งกล้าแข็งขึ้น ส่งผลให้จิตใจแข็งแกร่ง มีสติ ปัญญาเกิด มีพลังต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆที่ประดังเข้ามาในชีวิต  รวมทั้งควบคุมความเครียดได้ดียิ่งขึ้น  เห็นโลกตามความเป็นจริง ไม่มองโลกด้วยอารมณ์หรือด้วยความขุ่นมัวในใจ เสมือนท้องฟ้าใสไร้เมฆหมอกใดๆมาขวางกั้น มีความเป็นตัวของตนเอง รู้จักใช้สติปัญญา มีความรอบคอบ ไม่หลงเชื่อใครง่ายๆ การฝึกสมาธิไม่ใช่เรื่องยาก ไม่ว่าใครหรือแม้กระทั่งเด็กๆก็สามารถฝึกทำสมาธิได้ โดยมีข้อสังเกตุว่าหากเด็กมีการฝึกทำสมาธิอย่างสม่ำเสมอ จากที่เคยดื้อรั้นหรือเรียนมีปัญหา ก็จะกลายเป็นเด็กเรียนดี มีความรับผิดชอบสูง อารมณ์ดี ชวนะจิตปลอดโปร่ง มีสติปัญญาดี รู้จักกตัญญูกตเวที กิริยาสุภาพอ่อนโยน มีเมตตาต่อผู้อื่นและสัตว์

ประโยชน์ของสมาธิมีมากมาย โดยพระอาจารย์หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร กล่าวถึงประโยชน์ต่างๆของสมาธิดังนี้

  1. ทำให้หลับสบายคลายกังวล
  2. กำจัดโรคภัยไข้เจ็บ
  3. ทำให้สมองปัญญาดี
  4. ทำให้มีความรอบคอบ
  5. ทำให้ระงับความร้ายกาจ
  6. บรรเทาความเครียด
  7. มีความสุขพิเศษ
  8. ทำให้จิตใจอ่อนโยน
  9. กลับใจได้
  10. เวลาสิ้นลมพบทางดี
  11. เจริญวาสนาบารมี
  12. เป็นกุศล

นอกจากผู้ปฏิบัติสมาธิเป็นประจำจะบังเกิดประโยชน์ต่างๆกับตนเองแล้ว ยังส่งผลให้ผู้ปฏิบัติสมาธิเป็นคนมีเหตุผล มีความรับผิดชอบสูง และมีความเมตตาเพิ่มขึ้น ต้องการช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์ มีความปรารถนาดีต่อผู้อื่น ส่งผลให้สังคมเกิดความสามัคคี มีความเป็นเอกภาพ เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน  ซึ่งสิ่งเหล่านี้หากเกิดขึ้นในสังคมใด สังคมนั้นก็จะมีแต่ความสุขความเจริญ ผู้คนอยู่ด้วยกันอย่างสันติสุข ไม่มีความแตกแยกหรือขัดแย้งกัน  ดังที่พระอาจารย์หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร เคยให้สัมภาษณ์ว่า

“โอ้โห สมาธิที่ได้มันเหลือกิน คิดได้ว่าพระพุทธศาสนามีคุณใหญ่หลวงขนาดนี้ทีเดียวหรือ นี่เกิดจากพลังจิต

เพราะเมื่อคนเราได้พลังจิต ตัวสำคัญที่ตามมาที่ได้โดยไม่คาดคิดคือ

๑.ความรับผิดชอบสูง ๒.ความมีเหตุผล และ ๓.ความมีเมตตา”

 

 

.          .          .          .